มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไมรู้โห่ Carissa carandas
มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไมรู้โห่
Carissa carandas
1.1 เอกลักษณ์ทางพฤกษศาสตร์
ต้นมะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่มีลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้น สูงราว 2-5 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมียางสีขาว และมีหนามแหลมยาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ
เรียงตรงข้าม ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน เนื้อใบเรียบ เป็นต้น ดอกเล็กสีขาวออกเป็น
ช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนดอกมีสีชมพูหรือแดงอ่อน และมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ออกดอกตลอดปี ส่วนผลเป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลอ่อนจะมีสีชมพูอ่อนๆ และค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำมีรสชาติเปรี้ยว
คล้ายมะนาว (หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร, 2552)
1.2 ถิ่นเพาะปลูก
มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พบมากในประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม และแอฟริกา (Morton, 1987)
ผลมะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่เป็นผลไม้ที่ออกดอกและออกผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
พบมากในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดราชบุรี (หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร, 2552)
1.3 สรรพคุณ
มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่มีสรรพคุณ แก้ไอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน แก้เจ็บคอ และช่วยขับเสมหะ เนื่องจากมีวิตามินซีสูง
นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการท้องเสีย และช่วยรักษาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากมีสารกลุ่มฟีนอลิก
(Pal, Kulshreshtha, & Rastogi, 1975)
ตามความรู้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านไทยมีความเชื่อว่าส่วนต่างๆ ของต้นมะม่วงไม่รู้-หาวมะนาวไม่รู้โห่สามารถป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ได้ดังนี้
- ผล มีประโยชน์คือ ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ และ แก้ลักปิดลักเปิดเป็นต้น
- เมล็ด มีประโยชน์คือ แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น
บำรุงกำลัง และบำรุงผิวหนัง (Balakrishnan & Bhaskar, 2009)
- เปลือก มีประโยชน์คือ แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน และพอกดับพิษ เป็นต้น
- ยอดอ่อน มีประโยชน์คือ รักษาริดสีดวงทวาร
- ยางของลำต้น มีประโยชน์คือ ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อ ที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก
แผลเนื้องอก และโรคเท้าช้าง เป็นต้น (หน่วยบริการฐานข้อมูล สมุนไพร, 2552; Morton, 1987)
ผลมะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่เป็นแหล่งสำคัญของธาตุเหล็ก วิตามินซี และยังมีปริมาณ เพคติน ซึ่งเป็นใยอาหาร ที่ละลายน้ำได้ในปริมาณสูง (Pal et al., 1975) พบว่าผลของพืชสกุล Carissa carandas มีสารกลุ่มฟีนอลิกปริมาณมาก โดยสารประกอบฟีนอลิกได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ สารฆ่าเชื้อ และสารต่อต้านมะเร็ง (Morton, 1987) มะนาวโห่จะอุดมไปด้วยสาร
แอนโทไซยานิน เป็นสารสีม่วงแดงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด, ป้องกันโรคหัวใจ, ลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็ง, ช่วยเสริมให้ร่างกายต้านเชื้อโรค, สมานแผล, ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง